โฮจิฉะ คือ ชาที่นำใบชาเขียวที่ผ่านการอบแล้ว มาคั่วด้วยความร้อนจนใบชาเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ใบชาเขียวแบบไหนล่ะที่ จะนำมาใช้ทำโฮจิฉะ โฮจิฉะมีหลายประเภทและเกรดขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะเลือกส่วนใดของใบชาเขียวมาอบและคั่วโดยหลัก ๆ แล้ว ส่วนของใบชาเขียวที่นิยมนำมาใช้ในการทำโฮจิฉะจะมีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ เซนฉะ (Sencha) หรือใบที่อยู่ยอดอ่อนของต้นชาเขียว

ใบชาเขียวที่นำมาใช้ทำโฮจิฉะจะเลือกใช้ใบที่เป็นยอดอ่อนของต้นชาเขียวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก (เดือนพฤษภาคม) เหมือนกับใบชา ที่นำไปใช้ในการทำมัทฉะเลยค่ะ แต่ต่างกันตรงที่มัทฉะจะเลือกใช้ใบของยอดอ่อนที่เกิดอยู่ในพุ่มชาและได้รับร่มเงาจากใบชาใบอื่นๆ แต่ใบชาเขียวที่นำมาทำโฮจิฉะนั้นไม่ใช้ใบยอดอ่อนที่ได้รับร่มเงาจากใบอื่น ๆ เซนฉะจะให้รสชาติที่ เข้มข้นของชาแต่นุ่มและละมุนกว่ามัทฉะ เนื้องจากมีปริมาณคาเฟอีนที่น้อย บันฉะ (Bancha) หรือใบที่เหลือจากยอดอ่อนต้นชาเขียว กล่าวคือเป็นใบบนยอดอ่อนชาเขียวที่มีระยะเวลาเติบโตนานกว่าเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 (เดือน มิถุนายน-กรกฎาคม) ทำให้มีใบที่ใหญ่กว่าเซนฉะนั่นเอง ลักษณะของใบจะมีความเงาที่หลังใบ และด้านที่ท้องใบ บันฉะจะให้รสชาติที่อ่อนกว่าเซนฉะ คุคิฉะ (Kukicha) หรือก้านใบของยอดอ่อนต้นชาเขียว คุคิฉะจะมีรสหวานคล้ายถั่วเนื่องจากคุคิฉะเป็นส่วนก้านใบของยอดอ่อนต้นชาเขียวที่มีหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปยังใบชาเขียว

จึงทำให้โฮจิฉะที่ทำจากคุคิฉะนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมาก เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟลูออไรด์ และสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีปริมาณคาเฟอีนที่น้อยมาก การดื่มโฮจิฉะที่ทำจากคุคิฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายใบชาที นำมาใช้ทำโฮจิฉะนั้นมีหลากหลายแบบและให้รสชาติที่แตกต่างกันไป ใครสนใจโฮจิฉะแบบไหนก็ลองเลือกซื้อได้ตามความชอบเลยนะคะ แต่แอบกระซิบว่าที่ Chado Matcha เรามีให้เลือกทุกแบบเลย