ใครที่เคยไปประเทศญี่ปุ่นหรือเคยเห็นวัฒนธรรมชงชาของชาวญี่ปุ่นผ่านตาจากรายการโทรทัศน์ก็คงจะคุ้นตากับ ‘แปรงชงชาเขียวมัทฉะ’ หรือ ‘ฉะเซ็น (Chasen)’ อุปกรณ์หนึ่งที่ใช้ใน การชงชาเขียวกันใช่ไหมล่ะคะ แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่าฉะเซ็นนั้นมีที่มาอย่างไร

และส่งผลต่อรสชาติของชาอย่างไร Chasen หรือ ที่ตีฟองชาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชงชาในพิธีชงชา ใช้เพื่อตีให้ผงมัทฉะละลายไปกับน้ำจนทำให้เกิดฟองขึ้น Chasen ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1336 ที่หมู่บ้านยูวะ ทากายามะ เดิมพิธีชงชาชะโดของญี่ปุ่นมีไว้เพื่อคนชนชั้นสูง แต่นายมูราตะ จูโกะ มีความต้องการเผยแพร่ความงดงามและปรัชญาของพิธีชงชานี้ให้แก่คนทั่วไป จึงได้ขอให้นายโซเซสึและนายทากายามะ ทำ Chasen ให้ ทั้ง 2 จึงได้ทำ Chasen ขึ้นมา นายมูราตะ ได้ส่ง Chasen ของนายทากายามะไปให้จักพรรดิ และทำให้จักพรรดิประหลาดใจในความงดงามและหัตถศิลปะของ Chasen ชิ้นนี้จึงประทานนามให้ว่าทากาโฮะ แต่เมื่อเวลาผ่านไป Takaho Chasen ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในนาม Takayama Chasen

Chasen ทำมาจากหน่อไผ่ที่ถูกปลูกและดูแลอย่างดีมานานกว่า 2 ปี เมื่อได้ไผ่ที่มีอายุตามต้องการก็ทำการคัดเลือกปล้องไผ่และปอกเปลือกออก จากนั้นจึงทำการฝานไผ่ออกมาเป็นซี่บาง ๆ ตามจำนวน ที่ต้องการใช้ทำ Chasen เสร็จแล้วก็นำมาประกอบกันให้เป็นรูปร่างที่ต้องการด้วยด้ายสุดท้ายทำการเหลาขอบของ Chasenหรือซี่ไผ่แต่ละซี่ให้เป็นรูป Chasen ที่สมบูรณ์แบบ Chasen มีหลายประเภท แตกต่างกันที่ไม้ไผ่ที่ใช้ รูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku ไผ่ Susudake และไผ่ดำ Kurodake

การทำ Chasen มีการใช้ไผ่ตั้งแต่ 16-120 ซี่ หากจำนวนซี่น้อยซี่ไผ่ที่ใช้ก็จะมีความหนาขึ้น ยิ่ง Chasenมีจำนวนซี่ไผ่มากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ชาเขียวที่ชงมีรสชาติที่หวานและเบามากเท่านั้น เพราะ Chasen จะทำให้ชาเขียวที่ชงเกิดฟองอากาศขึ้น Chasen ถือเป็นงานฝีมือและวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน โดยไผ่ทุกซี่จะทำการเหลาด้วยมือทั้งหมดปัจจุบันที่หมู่บ้านทากายามะมีการผลิต Chasen มากกว่า 60 แบบเลยนะคะ การชงชาของญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันทุกขั้นตอนไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้เลยนะคะ หวังว่าข้อมูลนี้จะทำให้ทุกคนรู้จักกับ Chasen มากขึ้นนะคะ